Acknowledging information given
Acknowledging information given หรือ การยอมรับหรือตอบรับกับข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มา อาจเป็นข้อมูลทางบวก หรือลบ อาจเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์หรือเป็นเพียงคำบอกเล่าที่ไม่มีสาระ ไปจนถึงคำติฉินนินทาต่าง ๆ เราอาจจะแบ่งการตอบรับออกคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้
ฟังเฉย ๆ โดยที่ไม่แสดงออกว่าคล้อยตาม หรือต่อต้าน เพียงแค่ยอมรับข้อมูลที่ได้มาเท่านั้น
ตัวอย่าง
• Really
จริงเหรอ
• I’ve never heard about this before.
ฉันไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อนเลย
• I’ve never known this before.
ผมไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย
• Is it true?
เป็นเรื่องจริงเหรอ?
• How come?
เป็นไปได้ยังไง?
• That’s great.
นั่นเยี่ยมเลย
• I can’t believe it.
ผมไม่อยากจะเชื่อเลย
ฟังแล้วคล้อยตาม หรือนำไปปฏิบัติ แสดงออกอย่างชัดเจนว่าเห็นด้วยกับข้อมูลที่ได้รับมานั้น
ตัวอย่าง
• I think so.
ผมก็ว่างั้นแหละ
• I’ll do it right now.
ผมจะทำมันเดี๋ยวนี้เลย
• I’ll think about this.
ฉันจะลองคิดดู
• I will not do like that.
ฉันจะไม่ทำอย่างนั้น
• I’ll better do it.
ผมทำบ้างดีกว่า
• I’ll make it better.
ผมจะทำได้ดีกว่านี้
• I’ve heard about that as well.
ฉันก็เคยได้ยินเรื่องนี้มาเหมือนกัน
• I agree with you.
ผมเห็นด้วยกับคุณนะ
• That’s awful.
แย่จังเลย
• That’s awesome.
เจ๋งมาก
• I believe that.
ผมเชื่อนะ
• I’ll start doing that way.
ฉันจะเริ่มทำแบบนั้นบ้าง
• I’ll stop doing that.
ผมจะเลิกทำแบบนั้นแล้ว
ฟังแล้วไม่เห็นด้วย หรือยังไม่คล้อยตาม และอาจจะแสดงถึงการต่อต้านข้อมูลที่ได้รับ
ตัวอย่าง
• I don’t think so.
ผมไม่คิดงั้นนะ
• Why do you think like that?
ทำไมคุณถึงคิดแบบนั้นล่ะ
• I don’t see as you told.
ฉันไม่เห็นว่ามันจะเป็นแบบที่คุณว่าเลย
• I don’t believe it.
ผมไม่เชื่อหรอก
• I don’t agree with that.
ฉันไม่เห็นด้วยนะ
ประโยคที่ยกมาเป็นเพียงตัวอย่างคร่าว ๆ ที่สามารถใช้ได้ในสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน การตอบรับข้อมูลต่าง ๆ นั้นไม่มีหลักหรือกฏเกณฑ์ที่ตายตัวและยังสามารถแต่งประโยคพูดได้อย่างไม่จำกัด หรือแสดงออกได้อีกหลาย ๆ แบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าเราและคู่สนทนากำลังพูดเกี่ยวกับเรื่องอะไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น