หน้าเว็บ

krucholticha

krucholticha
lovely English teacher

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555


Expressing Certainty / Uncertainty



Expressing certainty / uncertainty
 

เมื่อเราแน่ใจว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เกิดขึ้น หรือกำลังจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เราสามารถใช้สำนวนที่แสดงความแน่นอน เพื่อแสดงความยืนยันว่าเรามั่นใจ หรือความไม่สงสัย เมื่อสิ่งนั้น ๆ ที่เกิดขึ้น สำนวนที่ใช้ในการแสดงความแน่นอน/ความมั่นใจ มีอยู่มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

Expression of Certainty

   I’m certain.
   ผมแน่ใจ

   Absolutely sure / absolutely not
 
   แน่นอนที่สุด / ไม่อย่างแน่นอน

   Of course
 
   แน่นอน

   I am sure.
 
   ฉันแน่ใจ

   Surely
 
   แน่นอน

   It is confirmed.
 
   ยืนยันได้เลย

   No doubt.
 
   ไม่ต้องสงสัย

   No doubt about it.
 
   ไม่ต้องสงสัยเลย

   He must be success.
 
   เขาต้องประสบความสำเร็จ

   I’m absolutely sure.
 
   ผมแน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์

   I'm quite sure
 
   ฉันค่อนข้างแน่ใจ

   I'm positive. / I’m positive not.
 
   ฉันมั่นใจ / ฉันมั่นใจว่าไม่

   Definitely / definitely not
 
   แน่นอน (ชัดเจน) / แน่นอนว่าไม่

   Certainly / certainly not
 
   แน่นอน / แน่นอนว่าไม่

   I believe that.
 
   ฉันเชื่อว่าอย่างนั้น

   I’m positive on that point.
 
   ฉันยืนยันเรื่องนี้

   It is obvious.
 
   มันเห็นได้ชัดอยู่แล้ว

   That goes without saying.
 
   ไม่ต้องอธิบายอะไรเลย

   It’s crystal clear.
 
   มันชัดเจนมาก

   It’s as sure as two and two make four.
 
   มันแน่ยิ่งกว่า 2+2 เป็น 4

   I wouldn’t be surprised.
 
   ฉันไม่แปลกใจเลย

   It’s more than probable.
 
   มันยิ่งกว่าเป็นไปได้ซะอีก

   I assume that.
 
   ฉันว่ามันต้องเป็นแบบนั้น

   
It's impossible.
   มันเป็นไปไม่ได้


ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราไม่มั่นใจในสิ่งที่เกิดขึ้น หรือไม่แน่ใจว่ามันจะเกิดขึ้นหรือไม่
 
เราสามารถใช้สำนวนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อแสดงถึงความไม่แน่ใจ ยกตัวอย่าง เช่น

Expressing uncertainty

   I’m not certain.
   ฉันไม่มั่นใจ

   I am not sure.
 
   ผมไม่แน่ใจ

   I doubt about it.
 
   ผมสงสัยเรื่องนี้

   I don’t know.
 
   ฉันไม่รู้

   I don’t really know.
 
   ฉันไม่รู้จริง ๆ

   It's possible.
 
   มันก็เป็นไปได้

   It might be.
 
   มันก็อาจจะ

   It might not be.
 
   มันก็อาจจะไม่

   It could happen.
 
   มันก็เกิดขึ้นได้

   I wouldn't like to say for certain.
 
   ผมไม่อยากยืนยัน

   I have my own doubts.
 
   ผมยังมีข้อสงสัยอยู่

   It's doubtful.
 
   มันน่าสงสัย

   It's highly (very) unlikely.
 
   มันไม่น่าจะเป็นไปได้(อย่างมาก)

   You never know of course.
 
   คุณไม่มีทางรู้เรื่องนี้ได้เลย

   No one can know for certain.
 
   ไม่มีใครรู้ชัด

   I can't tell you for sure.
 
   ผมพูดว่าแน่ใจไม่ได้

   I wonder if …
 
   ผมสงสัยว่า .....

   May be
 
   ก็อาจจะ

   Perhaps
 
   บางที

   There’s a little chance.
 
   มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก

   I don’t think so.
 
   ฉันไม่คิดแบบนั้น

   I don’t know.
 
   ผมไม่รู้

   I have no idea.
 
   ผมไม่มีความเห็น

   Sorry, I can’t tell you.
 
   โทษที ผมก็บอกคุณไม่ได้เหมือนกัน

ประโยคและสำนวนต่าง ๆ ข้างต้น เป็นเพียงสำนวนตัวอย่างที่ใช้ได้ทั่วไป 
ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันได้ทันที สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ สามารถสร้างประโยคอื่น ๆ ได้อีกมากมายนอกเหนือจากสำนวนข้างต้น

Expressing assurance


Expressing assurance คือ การแสดงความรับรอง หรือการพูดรับรอง ก็เป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ทั่วไปที่เราอาจจะต้องพบเจอในการใช้ชีวิตประจำวัน ในหัวข้อนี้เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่อาจจะไม่มีหลักการหรือโครงสร้างทางภาษาที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และสถานการณ์นั้น ๆ ของผู้พูด จะขอยกตัวอย่างเป็นประโยคที่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีดังต่อไปนี้

การพูดเพื่อให้ความมั่นใจหรือให้การรับรองทั่ว ๆ ไป


   • I’m sure that this book belongs to Jimmy.
     ฉันแน่ใจว่าหนังสือเล่มนี้เป็นของจิมมี่

   • Certainly, it must be black.
     แน่นอน มันต้องเป็นสีดำ

   • I confirm that they will be here in 5 minutes.
     ผมยืนยันว่าพวกเขาจะมาถึงในอีก 5 นาที

   • Surely, I’ll give back to you tomorrow.
     ผมจะคืนให้คุณพรุ่งนี้แน่นอน

   • Please be sure.
     กรุณามั่นใจได้เลยครับ

   • It is confirmed that you’ll get your car next week.
     คุณจะได้รับรถของคุณอาทิตย์หน้านี้แน่นอนครับ

   • I assure that this activity is safe.
     ผมรับประกันว่ากิจกรรมนี้ปลอดภัยครับ

   • I ensure that you’ll get your money back.
     ผมรับรองว่าคุณจะได้เงินของคุณคืนอย่างแน่นอน

   • It’s insurable.
     รับรองได้เลย

การรับประกันสินค้าจากร้านค้า


   • We offer 1 year guarantee for this computer.
     เรารับประกันคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นเวลา 1 ปีครับ

   • This television has 1 year warrantee.
     โทรทัศน์เครื่องนี้รับประกัน 1 ปีครับ

   • This is insurable.
     ของชิ้นนี้มีการรับประกันครับ

การรับรองบุคคล
  
   • This is to certify that Mr. Alex have works here for 3 years.
      สิ่งนี้ให้ไว้เพื่อแสดงว่าคุณอเล็กซ์ได้ทำงานที่นี่มาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว

   • I ensure that Ms. Sandra is a professional on this task.
     ผมรับรองว่าคุณแซนดร้าเป็นมืออาชีพสำหรับงานนี้ครับ

ประโยคต่าง ๆ เหล่านี้ยังสามารถนำไปดัดแปลงเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์อื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและการนำไปใช้ อนึ่งการพูดเพื่อแสดงการรับรองหรือรับประกันนั้นควรใช้น้ำเสียงที่หนักแน่นและอาการที่มั่นคง
เพื่อให้ผู้ที่เราสื่อสารด้วยมีความเชื่อมั่นและมั่นใจในเหตุการณ์ สิ่งของ หรือบุคคลที่เราได้ให้การรับรอง

Written by Ozimo

Expressing Admittance


Expressing admittance คือ การแสดงการยอมรับ อาจจะเป็นการยอมรับความผิด ข้อผิดพลาด ยอมรับที่จะแก้ไขปรับปรุง หรืออาจจะเป็นการยอมรับสิ่งที่ผู้อื่นพูดถึงในแง่บวกก็ได้

ในการที่จะพูดว่าเราเองเป็นผู้กระทำสิ่งนั้น ๆ มีหลายประโยคที่ใช้กันทั่วไป

ตัวอย่าง

   • It’s me.
      ผมเอง

   • That’s my fault.
      เป็นความผิดของผมเอง

   • That was me.
     ฉันทำเอง

   • It’s my mistake.
     มันเป็นความผิดของฉันเอง

   • I’m wrong.
     ผมทำผิดเอง

   • I did.
      ผมเอง

   • That’s my mistake.
      เป็นความผิดของผมเอง

ตัวอย่างประโยคในการตอบรับเมื่อผู้อื่นให้คำแนะนำเรา หรือคำชม

ตัวอย่าง

   • Thank you so much. I’ll keep on doing this.
     ขอบคุณมาก ๆ ผมจะทำต่อไปเรื่อย ๆ ครับ

   • Thank you very much. I’ll keep on doing.
     ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ฉันจะทำให้ดีต่อไป

ในกรณีที่ผู้อื่นช่วยบอกในสิ่งที่ถูกให้เรา เราควรขอบคุณและยอมรับที่แก้ไขในสิ่งนั้น

ตัวอย่าง

   • Thank you very much for correcting me.
     ขอบคุณมากที่ช่วยแก้ไขให้ผม

   • I’m really thankful that you help me notice this failure.
     ขอบคุณจริง ๆ ที่ช่วยบอกจุดที่ผิดให้ผมครับ

   • Thank you for correcting me. I’ll do it right away.
     ขอบคุณที่ช่วยแก้ให้ผมครับ ผมจะทำมันเดี๋ยวนี้เลย

   • Thank you for rectifying me. I’ll improve this.
     ขอบคุณที่ช่วยแก้ไขให้นะ ฉันจะปรับปรุงมันให้ดีขึ้น

และในกรณีที่เราถูกตำหนิ หรือกระทำการสิ่งใดที่เป็นความผิด เราควรแสดงความเสียใจอย่างจริงใจ ด้วยการขอโทษ และยอมรับในสิ่งที่ผิดนั้น ตามด้วยการรับปากที่จะปรับปรุงและแก้ไขสิ่งที่ผิดนั้นให้ดีขึ้น มีหลายประโยคที่สามารถใช้เมื่อรู้สึกเสียใจและยอมรับผิด

ตัวอย่าง

   • I confess to this failure.
     ผมยอมรับความล้มเหลวนี้ครับ

   • I admit to this mistaken project.
     ฉันยอมรับผิดในโครงการที่ผิดพลาดนี้เองค่ะ

   • I’m very sorry. I will not do it again.
     ผมขอโทษจริง ๆ ผมจะไม่ทำแบบนี้อีก

   • I’m sorry for my mistake.
     ผมขอโทษสำหรับความผิดพลาดครั้งนี้ครับ

   • I’m very sorry. I’ll improve.
     ฉันขอโทษจริง ๆ ฉันจะปรับปรุงค่ะ

   • I’m so sorry. I’ll figure out it.
     ผมขอโทษอย่างมากครับ ผมจะแก้ไขให้ครับ

   • I’m sorry. I’ll fix it.
     ฉันขอโทษ เดี๋ยวซ่อมให้นะ

   • I do sorry. I’ll revise this.
     ผมขอโทษจริง ๆ ผมจะทบทวนใหม่

   • I’ll rectify this immediately.
     ผมจะแก้ไขทันทีครับ

   • I’ll correct it at once
     ผมจะแก้ให้ถูกเดี๋ยวนี้ครับ.

   • I’m very sorry. I’ll repair this door.
     ผมขอโทษ ผมจะซ่อมประตูให้นะ

   • I’ll check and will not let it happen again.
     ผมจะตรวจสอบและจะไม่ให้มันเกิดขึ้นอีกครับ

   • I’ll fix it immediately.
     ฉันจะแก้ไขให้เดี๋ยวนี้เลยค่ะ

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างไอเดียที่สามารถหยิบนำไปใช้ได้ในทันที สิ่งที่สำคัญที่สุดในการยอมรับผิดคือการแสดงออกถึงความจริงใจที่จะยอมรับ การรู้สึกเสียใจอย่างแท้จริง และการตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้แล้วอาจะมีประโยคอื่น ๆ อีกมากมายที่เราสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

Closing a Conversation


 
  
Closing a Conversation คือ การพูดเพื่อเป็นการปิดการสนทนา
  
ประโยคเหล่านี้เป็นประโยคที่ใช้เมื่อเราจะปิดการสนทนา

  Pre-closing (
ประโยคก่อนปิด) 
    It's been nice talking to you.    
    It's been great talking with you.  
  
         ยินดีมากที่ได้คุยกับคุณ

    I really enjoyed  meeting you.
    It was nice meeting you, Mr. Brown.  
   
        ฉันดีใจมากที่ได้พบคุณ

    I'm sorry, but I have to go now.  
    I'm afraid I have to leave now.  
   
        ขอโทษด้วยแต่ว่าฉันต้องไปแล้ว

    Thanks for the information/ the tour/ your time.  
    
     ขอบคุณสำหรับข้อมูล/ การทัวร์ครั้งนี้/ เวลา

    Thanks for taking the time to talk with us.   
          ขอบคุณที่สละเวลามาคุยกับเรา
  
Follow up (ประโยคที่ตามมา)
    I'll give you a call.  
          ฉันจะโทรหาคุณ

    I'll send you an e-mail.  
          ฉันจะส่งอีเมลหาคุณ
 
    I'll put a packet in the mail for you. 
          ฉันจะส่งของทางไปรษณีย์ให้คุณ

    We'll send out that information right away.     
          เราจะส่งข้อมูลมาให้คุณเดี๋ยวนี้เลย

 
   I'll have my secretary schedule an appointment.   
    Could you send me a brochure/some more information?     
          คุณจะส่งใบปลิว/แผ่นพับ หรือข้อมูลรายละเอียดอื่นๆมาให้ผมได้ไหม

    Could I contact you by e-mail/at your office?  
          ฉันสามารถติดต่อคุณโดยทางอีเมล หรือออฟฟิตคุณได้ไหม

    How do I get in touch with you?     
    How can I reach/contact you?       
          ฉันจะติดต่อคุณได้อย่างไร

  
Closing (ประโยคปิด)
    I look forward to seeing you again.  
    We'll see you on Friday.  
          เจอกันวันศุกร์

    See you next week.  
          แล้วเจอกันอาทิตย์หน้า

    Let me give you my business card.   
          นี่เป็นนามบัตรผม

    Here's my e-mail/office number.  
          นี่คือ อีเมล์และเบอร์ office ผม

    Call me if you have any questions.  
          โทรมาเมื่อคุณมีข้อสงสัย

    Let's keep in touch by e-mail.  
    We'll be in touch.
    We'll keep in contact.   
    We'll stay in touch.
           เราจะติดต่อกัน      
  

Calling for Attention



Calling for Attention หรือการเรียกร้องความสนใจ คือ การเรียกร้องให้คนอื่นมาสนใจในสิ่งที่เรากำลังจะพูด หรือ ประกาศ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

     1. Polite/Formal Form แบบสุภาพและเป็นทางการ ใช้ในกรณีพูดกับผู้บังคับบัญชา คนแปลกหน้า เมื่อต้องการขัดจังหวะการสนทนาของผู้อื่น และประกาศในที่สาธารณชน เช่น ในโรงแรม ในสนามบิน ในบริษัท ในรถไฟฟ้า
  
     2. Impolite/Informal Form แบบเป็นกันเองและไม่เป็นทางการ ใช้ในกรณีพูดกับเพื่อนสนิท หรือกลุ่มเพื่อนที่มีความเป็นกันเอง และในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ เช่น การมีทติ้งนอกสถานที่ การจัดกิจกรรมปาร์ตี้ภายในองค์กร


1. Polite/formal form

   1.1 พูดกับผู้บังคับบัญชา คนที่เราให้ความนับถือ คนแปลกหน้า หรือเมื่อต้องการขัดจังหวะการสนทนา
        ของผู้อื่น (An individual to small group)

          Excuse me!
 (ขอโทษนะครับ/ค่ะ)

             Excuse me! May I ask how could I get to the nearest BTS, please?
             ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าผมจะไปรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีที่ใกล้ที่สุดได้ที่ไหนครับ?

             Excuse me, sir! May I ask some questions, please?
             ขอประทาษโทษครับท่าน ผมมีข้อสงสัย อยากจะขอเรียนถามสักข้อได้ไหมครับ?

             Excuse me! May I say something here?
             ขอโทษครับ ผมขอเสนอความคิดสักหน่อยนะครับ?

        I’m sorry! (ขอโทษครับ/ค่ะ)


            I’m sorry! Could you repeat that?
            ขอโทษนะครับ ช่วยพูดอีกทีได้ไหมครับ

    1.2 การประกาศในที่สาธารณชน ( Public announcement) 

    
            May I have your attention please! (ใช้ในที่มีกลุ่มผู้ฟังมากๆ ในเพื้นที่สาธารณะที่กว้างๆ)

                  May I have your attention, please!? This is the final call for flight no. TG 303 departing for Hong Kong, passenger David Libby please come to
           the gate A 21 immediately.
                  ผู้โดยสารโปรดทราบ นี่เป็นการประกาศครั้งสุดท้ายของการบินไทย เที่ยวบินที่ ทีจี 303 ไปยังฮ่องกง ผู้โดยสาร เดวิด ลิบบี้ โปรดเดินทางมาขึ้นเครื่องที่ประตู เอ 21 ด่วน

          This is the announcement of _______________ (ใช้เมื่อต้องการเจาะจงกลุ่มผู้ฟัง)

                 This is the announcement of seafood department, all associates please come to the back room for meeting at 8 p.m. Thank you.
                 นี่เป็นประกาศของแผนกอาหารทะเล ขอให้พนักงานทุกท่านมาประชุมโดยพร้อมกันที่ห้องเก็บของด้านหลัง เวลา ยี่สิบนาฬิกา โดยพร้อมเพรียงกัน ขอบคุณครับ

          Please pay (full) attention to __________________ (ใช้เมื่อต้องการให้ผู้ฟังสนใจในสิ่งที่เราจะพูดจริง มักเป็นสิ่งที่สำคัญ)

                 Please pay full attention to inflight safety as we will demonstrate now.
                 โปรดให้ความสนใจกับการสาธิตเกี่ยวกับความปลอดภัยภายในเครื่องจากพนักงานต้อนรับด้วยค่ะ

          Ladies and gentlemen!
 (ใช้เจาะจงกับกลุ่มผู้ฟังเพียงกลุ่มเดียว จะไม่มีกลุ่มผู้ฟังอื่นปน)

                Ladies and gentlemen! Welcome aboard to flight TG 303. This is captain speaking.
                สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่าน ขอต้อนรับสู่เที่ยวบินทีจี ที่ 303 ผมเป็นกัปตันของเที่ยวบินนี้

        Your attention, please! (ใช้กับกลุ่มผู้ฟังมาก แต่เนื้อหาไม่ได้เจาะจงกลุ่มผู้ฟังกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง)

                Your attention, please! Please have all your belongings with you all the time.
                ผู้โดยสารโปรดทราบ กรุณาเก็บกระเป๋าสัมภาระไว้กับตัวท่านตลอดเวลา

       Attention, please! (ใช้คล้ายๆกับอันข้างบน ความเป็นทางการจะลดลงมาอีกหน่อย)

               Attention please, the train to Chiang Mai has been delayed.
              โปรดทราบ รถไฟที่จะเดินทางไปยังเชียงใหม่จะออกเดินทางจากจุดหมายช้ากว่าที่กำหนดไว้

2. Impolite/informal Form

   2.1 การพูดเป็นการส่วนตัวในกลุ่มเพื่อนสนิท หรือตัวต่อตัว (An individual to small group)

              Hey! (ใช้เหมือนกับเรียกชื่อเพื่อน แต่จะไม่เรียก ใช้คำนี้แทนก็ได้)

                   Hey! What have you been up to?
                   ไงพวก! ช่วงนี้เป็นไงบ้าง?

             Listen! (ใช้เมื่อเริ่มมีอารมณ์โกรธ หรือ รำคาญ)

                   Listen! This is none of you business, you’d better not get involved!
                   ฟังนะ! นี่ไม่ใช่ธุระกงการอะไรของเธอเลย ทางที่ดีอย่าเอาตัวมาเกี่ยวดีกว่า!

   2.2 การพูดในที่สาธารณะ (Public speaking)


             Guys! (ใช้เรียกกลุ่มเพื่อนที่มีมากกว่า 2 คนขึ้นไป)

                 Guys! let’s go to the beach tomorrow!
                 พวก! พรุ่งนี้เราไปทะเลกันดีกว่า!

            Everybody! ( คำนี้จะดูเป็นทางการมากกว่า Guys อีกนิดหน่อย ความหมายเหมือนกัน)

                 Everybody! Tomorrow will be my last day of working here!
                 เพื่อนๆ พรุ่งนี้จะเป็นวันสุดท้ายที่เราจะทำงานที่นี่แล้ว!
  

Asking for Recommendation



Asking for recommendation หรือ การขอข้อเสนอแนะ เป็นการกล่าวเมื่อเราต้องการให้อีกฝ่ายให้คำแนะนำแก่เรา ในเรื่องที่เราไม่ถนัด หรือต้องการความคิดเห็น ซึ่งการกล่าวดังกล่าวก็อาจแบ่งออกได้เป็นหลายระดับเมื่อพูดกับคนที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ในที่นี้จะขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
 

     1. การขอข้อเสนอแนะทางตรง (Direct)
     2. การขอข้อเสนอแนะทางอ้อม (Indirect)

1. การขอข้อเสนอแนะทางตรง (Direct)
 

    1.1 ถามแบบตรงมากๆ และค่อนข้างไม่เป็นทางการ ใช้กับเพื่อนหรือคนที่สนิทกัน
 
            
             Any ideas/recommendations? (มีความเห็น หรือข้อเสนอแนะอะไรบ้างไหม)

   1.2 ถามแบบค่อนข้างเป็นทางการ และเจาะจงในสิ่งที่ถาม ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป
 

             What + ______________________?

                   What would you recommend?
                   คุณจะแนะนำว่าอย่างไร

                   What would be your recommendation?
                   คำแนะนำของคุณคืออะไร

                   What do you like?
                   คุณชอบอะไร

                   What do you say about + N.?
                   คุณจะว่าไง

                   What do you think of this?
                   คุณคิดว่าไง

                   What do you hear about + N.?
                   คุณได้ฟังมาว่าไง

                   What should I do?
                   ฉันควรทำอย่างไร

             What + ที่สุด?
 

                  What’s the best?
                  อะไรที่ดีที่สุด

                  What's the most popular + N?
                  อะไรที่เป็นที่นิยมที่สุด

                  What's the best selling + N?
                  อะไรที่ขายดีที่สุด

                  What (or which) is your favorite?
                  อะไรคือสิ่งที่คุณชอบที่สุด?

             What + preferences?
 

                  What would you pick/order?
                  คุณจะเลือก/สั่งอะไร?

                  What do your customers prefer?
                  ลูกค้าชอบอะไรมากกว่ากัน?

                  What do most people get/order/take/buy?
                  คนส่วนใหญ่ ซื้อหรือสั่งอะไร?

                  What (or which) would you prefer?
                  คุณชอบอะไรมากกว่ากัน?

             What +slang?
 

                  What's the word on the street?
                  คำนี้คำสแลงพูดว่าไงนะ

                  What's hot?
                  อะไรกำลังขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

   1.3 เป็นการถามที่เป็นทางการขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป
 

            Could + __________________

                 Could you recommend?
                 ช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมครับ

                 Could you tell me about + N?
                 กรุณาบอกผมเกี่ยวกับ_______

            Would + ________________
 

                 Would you happen to have a favorite / a preference?
                 คุณบังเอิญมีสิ่งที่ชอบกว่าไหมครับ)

                 Would you mind giving your opinion on?
                 คุณช่วยออกความเห็นในเรื่องนี้ให้หน่อยนะครับ

   1.4 เป็นการถามแบบบังคับให้ตอบ (Commands) เป็นการถามตรงๆที่ไม่เป็นทางการและไม่ค่อยสุภาพ เป็นการแสดงออกถึงความมีอำนาจของผู้พูด ผู้ที่มีอำนาจสูงกว่ามักใช้พูดกับผู้ที่ด้อยกว่า มักไม่ใช้ในรูปประโยคคำถาม แต่จะเป็นในรูปประโยคบอกเล่า 


          Tell me what you think.
          บอกมาว่าคุณคิดอย่างไร

          Pick the best + N.
          เลือกส่ิงที่ดีที่สุด

          Order whichever is better / superior.
          สั่งอะไรก็ได้ที่ดีกว่า/เหนือกว่า

          Decide for me.
          ตัดสินใจแทนผมแล้วกัน

          You choose.
          คุณเลือก

          I'd like your opinion on + N.
          ผมอยากได้ความคิดเห็นของคุณเกี่ยวกับ _____

2. การขอข้อเสนอแนะทางอ้อม (Indirect) 

บางครั้ง เมื่อเราถามทางอ้อม ผู้ฟังอาจจะเคลือบแคลงใจ บ่อยครั้งก็ไม่เข้าใจในคำถามที่เราถาม ทางที่ดีที่สุดคือการถามแบบสุภาพ เพื่อที่จะได้ดึงดูดความสนใจจากผู้ฟังได้ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

    2.1 เริ่มจากการเกริ่นนำ้ก่อน (Excuse me/Pardon me) แล้วค่อยหยอดคำหวาน/คำชม (flattering sentences) แล้วค่อยขอคำเสนอแนะ (Asking for recommendations)
 

For example, when asking a waiter what to order at the restaurant :
 

        "What you recommend?" (คุณจะแนะนำว่าอย่างไร)

        .... becomes .....  (กลายเป็น)

       "Pardon me, you know these dishes better than me- What would you order?
 
        ขอโทษนะครับ คุณรู้จักอาหารเหล่านี้มากกว่าผม เป็นคุณ คุณจะสั่งอะไรครับ

       .... or ..... (หรือ)
 

       "Excuse me, there a lot of good looking dishes here- Would mind giving me some advice?"
       ขอโทษนะครับ อาหารเหล่านี้ดูน่าทานเหลือเกิน คุณพอจะช่วยแนะนำผมหน่อยได้ไหมครับฦ?

       .... or, even shorter... (หรือ สั้นกว่านั้นก็ได้)
 

       "Wow, so many choices! What would you get?"
       โอ้โห เลือกได้เยอะแยะเลยเนี่ย เป็นคุณ คุณจะสั่งอะไรครับ

    2.2 ถามหาข้อเสนอแนะโดยที่อีกฝ่ายอาจไม่ทันรู้ตัวว่ากำลังถูกถามอยู่
 
 
         มีอะไรสะดุดตาคุณบ้างไหม

                Does something catch your eye?
                Did you see anything special?
                Anything appeal to you?
                Anything catch your fancy? (sounds very educated)

          หากคุณเป็นผม คุณจะทำอย่างไร
 

               If you were in my position, what would you do?

    2.3 การพูดแบบไม่จบประโยคแต่ละประโยคไว้ (Trailing Sentences) ก็เป็นการถามหาข้อเสนอแนะ
 ทางอ้อมอีกทางหนึ่งได้

          การถามข้อเสนอแนะที่ถามแบบอ้อมมากๆ จนดูคล้ายไม่ได้ถาม

               I'm at lost at what to do......
               ผมไม่รู้จะทำอะไรดี ...

               I'm having a bit of trouble deciding.....
               ผมตัดสินใจเรื่องนี้ไม่ได้ ....

               There are a lot of choices .....
               มีตัวเลือกเยอะเหลือเกิน .....

               Ah, I'm torn......
               โอ๊ย แย่แล้ว ผมตัดสินใจไม่ได้เลย .....

         แบบไม่เป็นทางการ ผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าคุยกับผู้ใต้บังคับบัญชา
 

               Well, I'm open to ideas.....
               อืม ผมเปิดรับความคิดเห็นทุกอย่าง....

               Hmmm, tough choice......
               อืม เลือกยากจริงเชียว ....

* Trailing sentences depend on the relative power of each speaker.
 
* Trailing sentences transfer the power to the other people in the conversation
( การใช้รูปประโยคแบบนี้มัก จะใช้ขึ้นอยู่กับอำนาจระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง รวมทั้งสามารถถ่ายโอนหรือแสดงอำนาจจากผู้พูดไปยังผู้ฟังได้)

แลดูคล้ายเยอะและซับซ้อนนะคะ จริงๆแล้ว การถามหาข้อแนะนำไม่ยากเลยค่ะ แค่จำรูปประโยคของการถามตรงได้ 


     - Any recommendations?
     - What/could/would/ you recommend?

แค่นี้ก็สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้แล้วหล่ะค่ะ ส่วนการใช้ข้ออื่นที่ดูซับซ้อนกว่านี้ มีไว้เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่จำเป็นต้องใช้ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ หรือ ในสภาวะการทำงานได้เรียนรู้กันค่ะ

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555


Asking for Permission
การขออนุญาต (Asking for Permission) เป็นการแสดงความสุภาพทางสังคมที่เราพึงกระทำ ในภาษาอังกฤษ เราสามารถใช้ can, could และ may ขึ้นต้นประโยคในการขออนุญาตในรูปแบบทั่ว ๆ ไป
เช่น 


     Can I use this computer?
     ขออนุญาตใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ไหมครับ?

     Could I use your umbrella?
     ขอใช้ร่มหน่อยได้ไหมคะ?

     
Can I use your computer, please? (แคน ไอ ยูส ยัวร์ คอมพิวเตอร์ พลีส):
     ขอใช้คอมพิวเตอร์ของคุณได้ไหม?

     Can I use your telephone for a minute? (แคน ไอยูส ยัวร์ เทเลโฟน ฟอร์ อะ มินิท)
     ขอใช้โทรศัพท์คุณสักครู่ได้ไหม?

     Could I borrow some money from you, please? (คู้ด ไอ บอโร่ ซัม มันนี่ ฟอร์ม ยู พลีส):
 
     คุณมีเงินให้ผมยืมบ้างไหม?
  
     Could I possibly borrow your calculator?(คู้ด ไอ พอสสิบลี้ บอโร่ ยัวร์ แคลคูลเลเทอร์):
     เป็นไปได้ไหมที่ฉันจะยืมเครื่องคิดเลขของคุณ
?
     May I go out?
     ขออนุญาตออกไปข้างนอกได้ไหมครับ?

     
May I turn off the fan? (เมย์ ไอ เทิร์น อ็อฟ เดอะ แฟน):
     ฉันขออนุญาตเปิดพัดลมได้ไหม?

***ประโยคที่ขีดเส้นใต้ จะถูกเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ที่ผู้พูดต้องการ


และในการอนุญาต เราสามารถใช้ can หรือ may ในรูปทั่วไปได้เช่นกัน

เช่น You can use this computer. หรือ You may use this computer. (เชิญใช้คอมพิวเตอร์ได้)

*** May เป็นภาษาแบบทางการ นิยมใช้น้อยกว่า can หรือ could / could นั้นจะสุภาพและเป็นทางการกว่า can



นอกจากนี้ยังมีวลีขึ้นต้นประโยคแสดงการขออนุญาตแบบสุภาพอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น

     Do/Would you mind if I open the window?
     คุณจะว่าอะไรไหม/ จะรังเกียจอะไรไหมถ้าจะขอเปิดหน้าต่าง?
   
     
Do/ Would you mind if I turn up the heating? (ดู ยู มาย อีฟ ไอ เทิร์น อัพ เดอะ ฮีททิ่ง): 
     จะว่าอะไรไหมถ้าฉันจะเพิ่มความร้อน?

     Do/ Would you mind if I could sit here? (ดู ยู ไมด์ อีฟ ไอ คู้ด ซีท เฮียร์):
     จะรังเกียจไหมถ้าฉันจะขอนั่งตรงนี้
?

          Would you mind if I borrow your book today?
     คุณจะรังเกียจไหมถ้าวันนี้จะขอยืมหนังสือ
?

          Would you mind if I turned up the heating? (วู้ด ยู มาย อีฟ ไอ เทิร์น อัพ เดอะ ฮีททิ่ง):
     จะว่าอะไรไหมถ้าฉันจะเพิ่มความร้อน?

     Would you mind if I closed the window? (วู้ด ยู ไมด์ อีฟ ไอ โคลสทฺ เดอะ วินโดว์):
     จะรังเกียจไหมถ้าฉันจะปิดหน้าต่าง?
 

*** หมายเหตุ -- กริยาที่ใช้หลังประโยค Do you mind if I ...+ V1
      กริยาที่ใช้หลังประโยค Would you mind if I ....+ V2


     Is it alright if I drive a bit faster?
     จะเป็นไรไหมถ้าจะขอขับเร็วกว่านี้ซักหน่อย?
 
     
Is it all right if I open the door? (อิส อิท ออล ไร้ท์ อีฟ ไอ โอพึ่น เดอะ ดอร์):
     จะเป็นไรไหมถ้าฉันจะเปิดประตู
?

     Will you let me help you with this?
     ให้ฉันช่วยคุณไหม?

     I wonder if I could borrow some money.
     ไม่ทราบว่าจะขอยืมเงินหน่อยได้ไหม
    
     
I wonder if I could use your camera? (ไอ วันเดอร์ อีฟ ไอ คู้ด ยูส ยัวร์ คาเมร่า):
     ไม่ทราบว่าจะขออนุญาตใช้กล้องคุณได้ไหม


     Would it be possible to leave the office early today?
     วันนี้จะขอเลิกงานเร็วหน่อยได้ไหมครับ

    It would be grateful if you could give permission for me to leave for vacation.
    จะเป็นความกรุณาอย่างยิ่งถ้าคุณจะอนุญาตให้ผมลาพักร้อนได้

    Do you think I could borrow your car?
    คุณจะให้ผมยืมรถหน่อยได้ไหม

    
Let me ............. / Would you let me.........?
    ฉันขอ..../ฉันขออนุญาต.........ได้ไหม

    Excuse me, I want to........../ I'd like to......
    ขออนุญาตนะ ฉันอยากจะ.............


Speaking tip:

   · Could is more polite that can.

   · Do you mind if…" is followed by the verb in the present tense, but would you mind if… is followed by the verb in the past tense.

   · When you're using these two sentences, don't use please. It's already polite enough

นอกจากนั้น เรายังอาจแบ่งการใช้ออกเป็นภาษาแบบทางการ และไม่เป็นทางการ

แบบทางการ (Formal)

     Would it be possible to leave the class today?
     ขออนุญาตหยุดเรียนวันนี้ได้ไหมครับ
 
     May I have permission to hand the homework tomorrow?
     ขออนุญาตส่งงานวันพรุ่งนี้ได้ไหมครับ

     It would be grateful if you could give me permission to do this job.
     จะเป็นความกรุณาอย่างยิ่งถ้าให้ผมได้รับงานนี้

     Would you mind if I send the paper today?
     คุณจะว่าอะไรไหมถ้าผมจะส่งเอกสารวันนี้

แบบไม่เป็นทางการ (Informal)
     Will you let me drive you home?
     ให้ผมไปส่งได้ไหม?

     Is it alright if I could borrow your calculator?
     จะว่าอะไรไหมถ้าผมขอยืมเครื่องคิดเลขหน่อย

     I wonder if I can use this pen.
     จะว่าไหมถ้าขอใช้ปากกาหน่อย

     Do you mind if I turn on television?
     จะว่าไหมถ้าจะเปิดทีวี

     Can I borrow your pencil?
     ขอยืมดินสอหน่อยได้ไหม

การให้อนุญาต หรือการปฏิเสธคำขออนุญาต (
Accepting /Decling a Permission)
การให้อนุญาต หรือการปฏิเสธคำขออนุญาต
สามารถทำได้หลายแบบ  ยกตัวอย่างเช่น

แบบเป็นทางการ (Formal)


    I’m sorry. But I have to use it today.
    ขอโทษนะ แต่วันนี้ผมต้องใช้

    I regret to inform you that I can’t lend you money.
    ผมเสียใจที่จะต้องบอกว่าผมให้คุณยืมเงินไม่ได้

    There will be no problem about that.
    ได้เลยครับไม่มีปัญหา

    Please do.
    เชิญเลยครับ

    Certainly
    ยินดีครับ

แบบไม่เป็นทางการ (Informal) 


    No, I’m afraid you can’t.
    ผมคงจะให้ไม่ได้

    Yes, but don’t be too late.
    ได้ แต่อย่านานนักนะ

    
Not at all. (นอท แอท ทอล)
    ได้เลยค่ะ ไม่รังเกียจอะไร


    Of course
    แน่นอน

    Of course not
    ไม่ได้

    Go ahead.
    เอาเลย

    
No. Go ahead.
    ไม่เลย ตามสบาย


    Surely
    แน่นอน

    Alright
    ได้เลย

    I don’t think so.
    อย่าดีกว่า

    You’re not supposed to.
     คุณทำแบบนั้นไม่ได้หรอก

หมายเหตุ: การปฏิเสธคำขอร้องอย่างสุภาพควรอธิบายเหตุผลในการปฏิเสธนั้นๆ และทั้งนี้ทั้งนั้นในการเลือกใช้ภาษาแต่ละแบบขึ้นอยู่กับดุลพินิจและความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างกันเป็นหลัก ผู้ใช้อาจสร้างประโยคอื่น ๆ ได้ด้วยตนเองโดยอาศัยหลักการดังกล่าวเป็นแนวทาง